หลักสูตรดับเพลิงขั้นต้นมักจะมีเนื้อหาที่ครอบคลุมเกี่ยวกับหลักการที่เกี่ยวข้องกับความเสี่ยงของเพลิงไหม้ การใช้งานอุปกรณ์ดับเพลิงต่างๆ และวิธีการระบายเพลิงอย่างปลอดภัย นอกจากนี้ มักจะรวมการอบรมในการปฏิบัติประจำที่เกี่ยวข้องกับการแจ้งเหตุเพลิงไหม้และการช่วยเหลือในเหตุการณ์ดับเพลิง
ทำไมกฎหมายจึงให้ความสำคัญของการจัดอบรมดับเพลิง
รู้หรือไม่ว่าปัจจุบันประเทศไทยเรามีการเกิดไฟไหม้ในโรงงานสถานประกอบกิจการ และตึกสูงต่างๆ มากมายในแต่ละปี โดยหากอ้างอิงจากสถิติการเกิดอัคคีภัยในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2550-2559 โดยสำนักข่าวไทย พบว่ามีเหตุอัคคีภัยมากกว่า 1,500 ครั้งต่อปี การจัดให้มี อบรมดับเพลิงจึงถือเป็นสิ่งที่จำเป็น เป็นอย่างมาก
โดยเฉพาะในกลุ่ม อาคารขนาดใหญ่ ที่เป็นตึกสูงและห้างสรรพสินค้า พบว่ามีเหตุอัคคีภัยเกิดขึ้นถึง 100 ครั้งในช่วงเวลา 10 ปี ส่งผลให้เกิดความเสียหายมูลค่าหลายพันล้านบาท
อัคคีภัย เป็นเหตุเพลิงไหม้ ที่เกิดขึ้นได้ในทุกสถานที่ ที่มีเชื้อเพลิงเป็นส่วนประกอบ ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วในอาคารสำนักงาน โรงงาน ห้างสรรพสินค้า ก็ล้วนมีส่วนประกอบของเชื้อเพลิง ทั้งในโครงสร้างอาคาร รวมถึงวัสดุอุปกรณ์ที่จัดเก็บในอาคาร ก็ล้วนเป็นเชื้อเพลิงได้ เมื่อเกิดไฟลุกไหม้
สาเหตุของอัคคีภัย
- ต้นเหตุเพลิงไหม้เกิดจากประกายไฟ ที่เกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย
- ทั้งจากการชำรุดของอุปกรณ์
- เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ก่อให้เกิดการลัดวงจร รวมไปถึง
- ความประมาทเลินเล่อของผู้ที่ทำงาน หรืออาศัยในอาคารเอง
ล้วนส่งผลให้เกิดประกายไฟไปติดกับเชื้อเพลิง กลายเป็นเหตุอัคคีภัยที่สร้างความเสียหายแก่ อาคาร ทรัพย์สิน ไปจนถึงชีวิตของผู้ที่อยู่ในอาคารด้วย
การให้ความรู้ผู้อาศัยในอาคาร เกี่ยวกับการรับมือเมื่อเกิดเพลิงไหม้
หรือจัดอบรมดับเพลิง จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยลดโอกาสความสูญเสีย เมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้ รวมถึงผู้อาศัยเอง ก็สามารถระงับเหตุเบื้องต้นเองได้ จากความรู้ที่ได้รับจากการอบรมดับเพลิง
เมื่อเกิดอัคคีภัยรุนแรงหลายคนที่อยู่ในเหตุการณ์จะไม่สามารถควบคุมสติ หรือไม่สามารถยับยั้งเหตุให้ทุเลาลงได้ โดยเฉพาะเมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้ในตึกสูงหรืออาคารขนาดใหญ่ ผู้คนที่ติดอยู่ด้านในมักได้รับอันตรายจากการสูดดมควันไฟ ทำให้หมดสติอยู่ภายใน หรือไม่สามารถหนีออกมาได้เนื่องจากไม่รู้เส้นทางหนีไฟของตึกนั้น
“รู้รักษาตัวรอดเป็นยอดดี” การจัดอบรมดับเพลิงขั้นต้นจึงมีวัตถุประสงค์ให้ผู้ที่ทำงานอยู่ในอาคารสำนักงาน โรงงาน ห้างสรรพสินค้า สามารถเอาตัวรอดได้เมื่อเกิดเหตุอัคคีภัยอย่างปลอดภัย และได้รับอันตรายน้อยที่สุด โดยข้อมูลจาก สสส. พบว่าเหตุเพลิงไหม้ในชุมชนเมืองในกรุงเทพมหานครมีแนวโน้มลดลง 25% ในปี 2561 แต่ยังไม่เพียงพอต่อความปลอดภัย จึงมีการรณรงค์ป้องกันอัคคีภัยทางสื่อต่างๆ รวมถึงการอมรมให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันอัคคีภัยด้วย
นอกจากนี้การเข้าใจถึงโครงสร้างอาคารที่พวกเขาทำงานอยู่ จะช่วยให้ผู้ที่เข้าอบรมรับรู้ถึงเส้นทางหนีไฟและการใช้ประตูหนีไฟที่ถูกต้อง และสามารถแยกแยะได้ว่าเสียงเตือนภัยที่เกิดขึ้นเกิดจากอัคคีภัยหรือการทำงานของอุปกรณ์เตือนภัยที่ผิดพลาดจากความประมาทของผู้ที่อยู่ในอาคาร เช่น มีการสูบบุหรี่ในที่ห้ามสูบทำให้ควันบุหรี่ไปสัมผัสกับเครื่องตรวจจับควันไฟและเกิดสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้ขึ้น