อบรมดับเพลิง คือ การให้พนักงานในโรงงานของเราได้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการตอบโต้เหตุฉุกเฉินไฟไหม้โดยพนัหงานจะได้เรียนรู้สิ่งทำคัญที่เกี่ยวข้องกับการดับไฟเช่น
- การใช้ถังดับเพลิงชนิดต่างๆ
- ประเภทของไฟ
- อันตรายในการดับเพลิง
- ชนิดของถังดับเพลิง
- เพลิงประเภทต่างๆ A , B , C , D , K
ปัจจุบันในสถานการณ์โควิด19 นายจ้างสามารถจัดอบรมดับเพลิงออนไลน์ได้เช่นกันโดยมีรายละเอียดดังนี้
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานได้กำหนดแนวทางปฏิบัติ เรื่อง การฝึกอบรมหลักสูตร การฝึกอบรมทบทวนความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ ไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) เพื่อให้การดำเนินการฝึกอบรมหลักสูตรการฝึกอบรมทบทวนความปลอดภัย ในการทำงานในที่อับอากาศ เป็นไปตามประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์วิธีการ และหลักสูตรการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ ลงวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2563 ซึ่งมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2564 สำหรับนายจ้าง ลูกจ้าง และผู้ที่เกี่ยวข้องใช้เป็นแนวทาง ดำเนินการในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19)
โดยผู้ให้บริการฝึกอบรม สามารถจัดฝึกอบรมหลักสูตรการฝึกอบรม ทบทวนความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ ซึ่งเป็นหลักสูตรที่มีการฝึกอบรมเฉพาะภาคทฤษฎีไม่น้อยกว่า 3 ชั่วโมง ให้เป็นไปตามประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง แนวทางการฝึกอบรมด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) ลงวันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2564 กล่าวคือ สามารถดำเนินการจัดอบรมด้วยวิธีการ ทางอิเล็กทรอนิกส์ได้ แต่ผู้เข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตรดังกล่าวต้องเป็นผู้ที่ผ่านการฝึกการอบรมดับเพลิงขั้นต้น ตามกฎหมายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับอัคคีภัยเฉพาะภาคทฤษฎี ซึ่งสามารถดำเนินการจัดอบรมด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ได้ ส่วนภาคปฏิบัติให้ดำเนินการฝึกอบรมภายหลัง เมื่อมีการผ่อนปรนมาตรการทางสาธารณสุข หรือสถานการณ์ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) คลี่คลายและเข้าสู่สภาวะปกติหรือจนกว่ากรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจะมีประกาศเปลี่ยนแปลงอย่างอื่น
หลักสูตรการดับเพลิงขั้นต้น
1. วัตถุประสงค์
1.1 เพื่อให้ถูกต้องตามกฎหมายตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การป้องกันและระงับอัคคีภัยในสถานประกอบการ เพื่อความปลอดภัยของลูกจ้างในการทำงานสำหรับลูกจ้าง ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน 2534 ข้อ 19 ( 3 ) จัดให้ลูกจ้างเข้ารับการฝึกอบรมการดับเพลิงขั้นต้นจากหน่วยงานที่ทางราชการกำหนดหรือยอมรับไม่น้อยกว่าร้อยละสี่สิบของจำนวนลูกจ้าง ในแต่ละหน่วยงานของสถานประกอบการ
1.2 เพื่อเป็นการลดความสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สิน ในสถานประกอบการ ในกรณีเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด
1.3 เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้รู้จักวิธีการป้องกันและการเข้าระงับเหตุอันเกิดจากอัคคีภัย ได้อย่างถูกต้องและถูกวิธี
1.4 เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมสามารถนำความรู้ที่ได้ไปช่วยเหลือ สถานประกอบการ และชีวิตประจำวันได้
1.5 เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมสามารถนำความรู้ความสามารถเพื่อช่วยเหลือสังคมได้เป็นอย่างดี
2. การฝึกอบรม
ระยะเวลาอบรม 1 วัน อย่างน้อย 6 ชั่วโมง ( ภาคทฤษฎี 3 ชั่วโมง ภาคปฏิบัติ 3 ชั่วโมง )
2.1 ภาคทฤษฎี
2.1.1 ทฤษฎีการเกิดเพลิงไหม้
2.1.2 การแบ่งประเภทของไฟ
2.1.3 จิตวิทยาเมื่อเกิดอัคคีภัย
2.1.4 การป้องกันแหล่งกำเนิดการติดไฟ
2.1.5 วิธีการดับเพลิงประเภทต่างๆ
2.1.6 เครื่องมือดับเพลิงประเภทต่างๆ
2.1.7 วิธีการใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล ที่ใช้ในการดับเพลิง
2.1.8 แผนการป้องกันและระงับอัคคีภัย
2.1.9 การจัดระบบป้องกันและระงับอัคคีภัย และการประยุกต์ใช้ระบบและอุปกรณ์ที่มีอยู่ในสถานประกอบการ
2.2 ภาคปฏิบัติ
2.2.1 ฝึกการใช้เครื่องดับเพลิงชนิดน้ำอัดแรงดัน
2.2.2 ฝึกการใช้เครื่องดับเพลิงชนิดผงเคมีแห้ง
2.2.3 ฝึกการใช้เครื่องดับเพลิงชนิดคาร์บอนไดออกไซด์ ( Co2 )
2.2.4 สาธิตการดับเพลิงประเภท ดี ( D = เพลิงที่เกิดจากสารเคมี )
2.2.5 ฝึกการใช้สายน้ำดับเพลิงและหัวฉีด ( กรณีที่บริษัทมีระบบดับเพลิงในอาคาร )
2.2.6 ฝึกการดับเพลิงที่เกิดจากการลุกไหม้ของก๊าซหุงต้ม
2.2.7 ฝึกการดับเพลิงที่เกิดจากการลุกไหม้ของน้ำมัน
3. อุปกรณ์ในการฝึกอบรม
3.1 ถังดับเพลิงชนิดคาร์บอนไดออกไซด์ ( Co2 )
3.2 ถังดับเพลิงชนิดน้ำ
3.3 ถังดับเพลิงชนิดผงเคมีแห้ง
3.4 ถังดับเพลิงชนิดโฟม
3.5 แก๊สหุงต้ม ขนาด
3.6 น้ำมันเบนซิน
3.7 เอกสารสำหรับผู้เข้ารับการอบรม
3.8 หนังสือรับรองการอบรมดับเพลิงขั้นต้น ข้อ 19(3)
4. อุปกรณ์เสริม
4.1 ตู้สาธิตการระเบิดของแก๊ส LPG
4.2 สารเคมีที่เป็นอันตรายและสามารถลุกติดไฟได้ ( เพลิงประเภท D )