อุปกรณ์ที่ออกแบบมาเพื่อป้องกันความเสี่ยงต่อความปลอดภัยและสุขภาพของคนงานในสถานที่ทำงาน โดยมักจะมีให้ใช้ในหลายประเภทขึ้นอยู่กับลักษณะของงานและอันตรายที่อาจเกิดขึ้น
ตัวอย่างของ PPE รวมถึงหมวกนิรภัย แว่นตากันละออง หน้ากากป้องกันอนุภาค หน้ากากป้องกันอนุภาค N95 ถุงมือนิรภัย และเสื้อผ้าพิเศษที่ป้องกันการสัมผัสกับสิ่งของที่อาจเป็นอันตราย เช่น เคมี และอื่นๆ
ความสำคัญของอุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล ในการทำงานให้เกิดความปลอดภัย
PPE คือ Personal protective equipment หรือแปลว่า “อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล” เป็นอุปกรณ์ที่มีไว้ให้ผู้ปฏิบัติงานสวมใส่เป็นปราการด่านสุดท้าย
มีตั้งแต่เสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย หมวก แว่นตา หน้ากาก ถุงมือ และอุปกรณ์สวมใส่อื่นๆ ที่ออกแบบมาเพื่อผู้สวมใส่ และเกิดปลอดภัยในขณะทำงาน หรือต้องอยู่ในพื้นที่เสี่ยง อุปกรณ์ความปลอดภัยจะช่วยทำให้ลดความเสี่ยงในการทำงานมากกว่าเดิม
การใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ความปลอดภัยเป็นวิธีการหนึ่งในหลายวิธีในการป้องกันอันตรายจากการทางาน ซึ่งโดยทั่วไปจะมีการป้องกันและควบคุมที่สภาพและสิ่งแวดล้อมของการทำงานก่อน โดยการแก้ไขปรับปรุงทางวิศวกรรม การกั้น แยก ไม่ให้ปะปนกับสิ่งอื่น หรือการใช้เซฟการ์ดแบบต่างๆ หรือการที่จะต้องปรับเปลี่ยนเครื่องจักร เปลี่ยนกรรมวิธีการทำงาน
ส่วนในกรณีที่ไม่สามารถดำเนินการดังกล่าวได้ก็จะนำกลวิธีการใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายมาใช้ประกอบด้วย เพื่อช่วยป้องกันอวัยวะของร่างกายในส่วนที่ต้องสัมผัสงานมิให้ประสบอันตรายจากภาวะอันตรายที่อาจเกิดขึ้นขณะทำงาน
เช่น ป้องกันการบาดเจ็บทางร่างกาย ป้องกันความร้อน ป้องกันเคมี หรือว่าป้องกันแบคทีเรีย หรือละอองต่างๆ ที่อยู่ในอากาศเพื่อป้องกันการเกิดอันตรายที่อาจเกิดขึ้นในพื้นที่ ที่มีความเสี่ยง
ชนิดของ PPE แบ่งได้หลายชนิดตามส่วนของร่างกายที่ สวมใส่หรือได้รับการป้องกันที่สำ คัญ คือ
หมวกป้องกันศีรษะ (Head Protection Devices)
ใช้สำหรับป้องกันศีรษะจากการถูกกระแทกชนหรือวัตถุตกจากที่สูงมากระทบศีรษะมีลักษณะแข็งแรงและทำด้วยวัสดุที่แตกต่างกันออกไปคือใช้ในงานอุสหกรรมทุกประเภทเป็นต้น
อุปกรณ์ป้องกันหู (Ear Protection)
ใช้สำหรับการทำงานในอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมก่อสร้าง อุตสาหกรรมการผลิต รวมทั้งการทำงานกับเครื่องจักรกล เช่นเครื่องถลุงเหล็ก เครื่องเจาะปูน เครื่องปาดคอนกรีต เครื่องจักรกลอัตโนมัติ ขนาดใหญ่ที่มีเสียงเกินดังที่หูจะรับได้หรือไม่ก็ในพื้นที่ๆ ควรระมัดระวังเรื่องเสียงเป็นพิเศษ
แว่นนิรภัย (Eye Protection)
อุปกรณ์ป้องกันดวงจากสารเคมีหรือวัสดุอื่นขณะปฏิบัติงานซึ้งอาจกระเด็นเข้าตาทำให้ตาบอดได้โดยปกติแว่นตานิรภัยใช้ในวงการอุตสาหกรรมเคมีอุตสาหกรรมงานไม้ อุตสาหกรรมงานเครื่องมือ เครื่องจักรกล งานเชื่อมไฟฟ้า และงานเชื่อมแก็สโดยแว่นตานิรภัยทำจากพลาสติกหรือกระจกนิรภัยไม่แตกกระเด็นเข้าตาผู้ปฏิบัติงาน
ชุดป้องกันสารเคมี (Body Protection)
ใช้สำหรับป้องกันส่วนต่างๆ ของร่างกาย กรณีเข้าไปปฏิบัติงานเขตพื้นที่ที่เป็นกรดมีการสวมใส่โดยแบ่งระดับของความรุนแรงของสารเคมีแลเป็นไปตาม ข้อกำหนดของสำนักบริหารการป้องสิ่งแวดล้อมแห่งชาติสหรัฐอเมริกาโดยมีรับความรุนแรงตั้งแต่ระดับ ABC และ D
หน้ากากกรองฝุ่นละออง (Respirator)
เป็นอุปกรณ์ป้องกันการหายใจเมื่อปฏิบัติงานเกี่ยวกับงานที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ เช่น ใช้กรองฝุ่น ควัน ฟูมโลหะ กรองก๊าซไอระเหยที่แขวนในอากาศโดยแบ่งไปตามประสิทธิภาพการกรองอากาศและชนิดของไส้กรอง
ถุงมือนิรภัย (Hand Protection)
ใช้เพื่อป้องกันมือจากการถูกความร้อน ความสกปรก การกระแทกสะเก็ดไฟ การเสียดสีหรือ การบาดคม ถุงมือนิรภัยมีหลายประเภท เช่น ถุงมือป้องกันงานเลื่อยด้วยมือถุงมือป้องกันงานเครื่องจักร ถุงมือป้องกันทั่วไป ถุงมือป้องกันงานเย็น ถุงมือป้องกันงานเชื่อมและวัสดุที่ใช้ทำถุงมือ เช่น หนังวัว หนังกวาง หนังหมู และหนังแพะ
รองเท้านิรภัย (Foot Protection)
เป็นอุปกรณ์ที่ถูกออกแบบมาเพื่อต้านทานแรงกระแทกและแรงบีบบริเวณหัวประกอบด้วยโครงเหล็กใช้สำหรับวัตถุหล่นใส่ป้องกันกระดูกส่วนบนป้องกันอันตรายจากระแสไฟฟ้าป้องกันแรงกระแทกผ่านการทดสอบแรงบีบ พื้นรองเท้าป้องกันน้ำมันและ กรด ส่วนบนป้องกันน้ำซึมเข้ารองเท้า
หน้ากากเชื่อม (Face Protection)
ใช้ป้องกันอันตรายจากแสงและควันซึ่งเกิดจากการเชื่อมไฟฟ้ามีทั้งแบบธรรมดาแลแบบปรับแสงได้ในตัว
กระบังหน้า (Face Protection)
ใช้ป้องกันเศษโลหะกระเด็นถูกใบหน้าในเวลาที่ทำงาน
เข็มขัดนิรภัย (Safety Harness)
เป็นอุปกรณ์ช่วยป้องกันอันตรายจากการทางานในที่สูงจะมีสายรัดลำตัวคาดตั้งแต่หัวไหล่หน้าอกเอวและขาเกี่ยวติดกับสายช่วยชีวิตเพิ่มความปลอดภัยได้มาก เนื่องจากจะเฉลี่ยแรงกระตุกหรือกระชากไปที่ลำตัวด้วยและมักทำจากวัสดุที่มีความอ่อนนุ่มเพื่อช่วยลดแรงกระแทกของลาตัวอีกชั้นหนึ่งด้วย
ฝักบัวฉุกเฉิน
ใช้ป้องกันหรืออันตรายที่อาจจะเกิดจาการกรดหรือสารเคมี
การเลือกใช้อุปกรณ์ PPE
- มีความเหมาะสมกับอันตราย ลักษณะงาน มีประสิทธิภาพในการป้องกัน
- มีมาตรฐานรับรองจากหน่วยงาน องค์กรที่เชื่อถือเป็นที่ยอมรับ
- มีขนาดพอดีกับแต่ละบุคคล รู้สึกสบายเมื่อสวมใส่