Home » เริ่มต้น : ตรวจสอบระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ ต้องทำอย่างไร

เริ่มต้น : ตรวจสอบระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ ต้องทำอย่างไร

by webmaster
470 views
เริ่มต้นตรวจสอบระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้

อันตรายจากการเกิดไฟไหม้ในตึกใหญ่และบนอาคารสูงจน ทำให้ผู้อยู่อาศัยนั้นเกิดความเป็นอันตรายต่อทรัพย์สินและชีวิตเนื่องจากโดยส่วนใหญ่นั้นไม่สามารถดับเพลิงขั้นต้นได้อย่างรวดเร็ว ทำให้ไฟเกิดการลุกลามเกิดการควบคุม

ข้อแนะนำ : เพื่อความปลอดภัยในชีวิตเกี่ยวกับเพลิงไหม้ คือ การติดตั้งระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ fire alarm ของเราให้พร้อมใช้งานอยู่เสมอ รวมไปถึงควรมีการ ตรวจเช็คระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ ทุกๆ ปีเป็นอย่างน้อย

ระบบแจ้งเตือนเหตุเพลิงไหม้ ( Fire Alarm System ) นั้น มีความสำคัญมาก เพื่อให้เรามั่นใจได้ว่าระบบแจ้ง เตือนเหตุเพลิงไหม้ของคุณยังใช้งานได้ปกติดี จึงจำเป็นที่จะต้องทำการบำรุงรักษาระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้อยู่ตลอดเวลา การตรวจสอบประจำปีจะทำการตรวจเช็ค และทดสอบอุปกรณ์ในระบบไฟอลามทุกตัว รวมทั้งตู้คอนโทรล และอุปกรณ์แจ้งเตือนต่างๆ เพื่อตรวจสอบระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ว่าอุปกรณ์ทุกตัว อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ปกติดี  และเมื่อถึงเวลาเกิดเหตุการณ์ขึ้นระบบจะสามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์ 

ตรวจเช็คกล่องควบคุม

รายการตรวจสอบระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้มีอะไรบ้าง

  1. ตรวจสอบตู้ควบคุมสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้ และ ความสะอาด
  2. ตรวจสอบระบบไฟฟ้า และกระแสไฟในวงจร
  3. ตรวจสอบประสิทธิภาพพลังงานของ Battery 24 VDC
  4. ตรวจสอบ Battery Charger
  5. ตรวจสอบหลอดไฟ ระบบแสดงการทํางานของอุปกรณ์ LED Lamp
  6. ตรวจสอบสภาพของ ตู้ FCP – Control Panel
  7. ตรวจสอบการทํางานของระบบ Function
  8. ตรวจสอบการทํางานของ Heat ทําความสะอาด Heat การทดสอบอุปกรณ์ตรวจจับความร้อน (Heat Detector) ชนิดต่างๆ  จะทดสอบโดยการใช้อุปกรณ์เป่าลมร้อน (Heat Gun) แล้ว จะดูสถานะการณ์ทำงาน ของดวงไฟแสดงสถานะ (LED Status) ของตัวอุปกรณ์

การตรวจสอบ อุปกรณ์ตรวจจับความร้อน

  • ตรวจทดสอบการทำงานของอุปกรณ์ตรวจจับความร้อน ด้วยเครื่องเป่าลมร้อน (Heat Tester)
  • ตรวจทดสอบการทำงานของดวงไฟแสดงสถานะ (LED Status) ในการแจ้งเตือน
  • ตรวจทดสอบการส่งสัญญาณไปแจ้งที่ตู้ควบคุมระบบ เมื่อทดสอบด้วยเครื่องเป่าลมร้อน
  • ตรวจทดสอบการส่งสัญญาณไปแจ้งที่ตู้ควบคุมระบบ
  • ตรวจทดสอบสภาพโดยรวมของอุปกรณ์ตรวจจับความร้อน
  • ตรวจทดสอบสายที่เชื่อมต่อ
  • เช็คหลอดดวงไฟแสดงสถานะ (LED Status)

การทำความสะอาด (Cleaning) สำหรับ อุปกรณ์ตรวจจับความร้อน

  • ทำความสะอาดของ อุปกรณ์ตรวจจับความร้อน
  • ทำความสะอาดและขันน็อต เข้าสายเชื่อมต่อให้แน่น
ตรวจสอบการทํางานของ Smoke ความสะอาด Smoke การทดสอบอุปกรณ์ตรวจจับควัน (Smoke Detector) ชนิดต่างๆ จะทดสอบโดยการใช้อุปกรณ์จำลองควัน เช่น สเปรย์ควันเทียม (Smoke Detector Tester) แล้ว จะดูสถานะการณ์ทำงาน ของดวงไฟแสดงสถานะ (LED Status) ของตัวอุปกรณ์

ตรวจเช็คอุปกรณ์ตรวจจับควัน

การตรวจสอบ อุปกรณ์ตรวจจับควัน

  • ตรวจทดสอบการทำงานของอุปกรณ์ตรวจจับควัน ด้วยสเปรย์ควันเทียม (Smoke Tester)
  • ตรวจทดสอบการส่งสัญญาณไปแจ้งที่ตู้ควบคุมระบบ เมื่อทดสอบด้วยสเปรย์ควันเทียม
  • ตรวจทดสอบการทำงานของดวงไฟแสดงสถานะ (LED Status) ในการแจ้งเตือน
  • ตรวจทดสอบการส่งสัญญาณไปแจ้งที่ตู้ควบคุมระบบ
  • ตรวจทดสอบสายที่เชื่อมต่อ
  • ตรวจสอบไฟแสดงสถานะ (LED Status) ตู้ควบคุมระบบ

การทำความสะอาด (Cleaning) สำหรับ อุปกรณ์ตรวจจับควัน

  • ทำความสะอาดของ อุปกรณ์ตรวจจับควัน
  • ทำความสะอาด โดยการปัดฝุ่น
ตรวจสอบการทํางานของกระดิ่ง ไฟกระพริบ ไฟกระพริบ เสียง เป็นต้น
ตรวจสอบการทํางานของ Manual Station หมั่นทําความสะอาด Manual Station
คอยตรวจสอบความผิดปกติ

เกี่ยวกับเรา

บทความเพื่อคุณ Blog ของเราประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญที่มีทักษะและความรู้สูงซึ่งอุทิศตนเพื่อนำเสนอโซลูชั่นคุณภาพสูงสุดแก่ลูกค้าของเรา เรามุ่งมั่นที่จะติดตามเทคโนโลยีล่าสุดและแนวโน้มอุตสาหกรรม ซึ่งช่วยให้เราสามารถนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพสูงสุด

เรื่องแนะนำ

ติดต่อ

@2023 – All Right Reserved. Designed and Developed by athucpham